วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

สูตรวิธีการทำ ไข่เค็มพอกดินสอพอง



ส่วนผสม

1.   ไข่เป็ด            50   ฟอง
2.   เกลือป่น            300   กรัม
3.   ดินสอพอง            1   กิโลกรัม
4.   น้ำสะอาด            1   ลิตร

วิธีทำ

1.   ล้างไข่ให้สะอาด หรือเช็คให้สะอาด
2.   ต้มน้ำเกลือ ให้เกลือละลาย
3.   นำน้ำเกลือมาผสมกับดินสอพอง คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้เย็น
4.   นำมาพอกไข่ ให้ทั่วเสมอ
5.   นำไข่ไปคลุกกับขี้เถ้าแกลบ เก็บใส่ ภาชนะ เมื่ออายุได้ 7 วัน มาทอดรับประทานหรือ 15 วัน ต้มรับประทาน

การปลูกอ้อย

 
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน เก็บผลผลิตได้  2-3  ปี  สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อยอ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท  ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ  ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง 
การเตรียมพันธุ์
            พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี  ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน  ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่  ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่     สำหรับแปลงพันธุ์  ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว  และกอตะไคร้  จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล  อัตรา  66  ซีซี/น้ำ20  ลิตร  นาน  30  นาที  เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง 
และกลิ่นสัปปะรด                              
ฤดูกาลปลูก 
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
            การปลูกอ้อยต้นฝน  ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ
                 -  ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง      
                      เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
                  -  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน  -  มิถุนายน
            การปลูกอ้อยปลายฝน  (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน     ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย  การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม
 การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
                 -  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก
                 -  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด  เพื่อช่วยลด      ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง
วิธีการปลูก
                 -  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้  1.3  เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ2  ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
                 -  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว  ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง  และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ  และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง  และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่  โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก  และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30  เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
 การใส่ปุ๋ย 
 โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ 
            ใส่ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้    ปุ๋ยสูตร 15-15-15,
25-7-7 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
            ใส่ปุ๋ยครั้งที่สองให้ใช้ ปุ๋ยสูตร
20-8-20 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
การป้องกันกำจัดวัชพืช
           - ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน
           -ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก
           - ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก
           - การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ  อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช  และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข    คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
            - การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ  หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย  แต่มีผลเสียตามมา  คือ
                     *  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน          
                     *  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
                     *  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
                     *  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
                     *  มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
              - การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียม

การปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐ์กิจที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมากอีกชนิดหนึ่งก็ว่าได้เนื่องจากราคาผลผลิตของข้าวโพดที่สูง และในปัจจุบันยังสามารถนำมาใช้ผลิตเอธานอลเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน นับว่าเป็นพืชเศรษฐ์กิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดหนึ่งก็ว่าได้
 
ฤดูปลูกการปลูกข้าวโพด
แบ่งการปลูกเป็น 2 ช่วง
ต้นฤดูฝน นิยมปลูกกันตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงต้นเดือนมิถุนายน
ปลายฤดูฝน นิยมปลูกตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม
 
ขั้นตอนในการเตรียมดินในการปลูกข้าวโพด
เริ่มจากการไถพรวนดินให้ดินมีความร่วนซุยเพื่อให้เหมาะแก่การปลูกข้าวโพดเพื่อให้รากของต้นข้าวโพดสามารถหยั่งรากได้ลึกหาอาหารเก่งและเพิ่มความสามารถการระบายน้ำในดินไม่ให้ท่วมขัง และช่วยทำให้เมล็ดข้าวโพดสามารถงอกได้ดี โดย การไถให้ใช้ผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้ง
 
การปลูก
            การปลูกมี 2 วิธี คือ
-          การปลูกโดยใช้เครื่องจักรในการช่วยปลูก
-          การปลูกโดยใช้แรงงานคน
           ระยะการปลูกระหว่างแถว 80 เซนติเมตร
           ระยะระหว่างหลุมประมาณ 25-30 เซนติเมตร
           ปลูกลึก 4-5 เซนติเมตร
 
การใส่ปุ๋ย
            การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ถูกสูตร ถูกกับพื้นดิน และถูกเวลาจะช่วยเกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยนิยมแบ่งใส่ 2 ครั้งด้วยกัน
            ใส่ปุ๋ยครั้งแรก ในดินเหนียวให้ใช้สูตร 16-20-0
                              ในดินร่วนให้ใช้สูตร 15-15-15 , 25-7-7 ใช้ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่
ใส่ครั้งที่สอง  ในดินเหนียวและดินทรายให้ใช้สูตร 36-0-0 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่  หลังจากปลูกประมาณ 25-30 วันเพื่อเร่งฝักให้มีความอวบใหญ่และสมบูรณ์
 
การเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ข้าวโพดแต่ละพันธุ์มีอายุเก็บเกี่ยวไม่เท่ากัน โดยทั่วไปข้าวโพดในประเทศไทยมีอายุเก็บ
เกี่ยวระหว่าง 100-120 วัน ซึ่งการเก็บเกี่ยวควรเก็บเมื่อข้าวโพดแก่เต็มที่ กาบหุ้มฝักแห้ง ใบแห้ง
ซึ่งเมล็ดควรมีความชื้นไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเก็บเกี่ยว ซึ่งการเก็บเกี่ยวอาจทำได้ทั้งใช้
แรงงานคน หรือใช้เครื่องเก็บเกี่ยว

การปลูกยางพารา

 

การเตรียมดิน   เมื่อเผาปรนเสร็จให้เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็นพื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดินเพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้นให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง
1. ต้นตอตา คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้วจึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก
2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษาจนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่
3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง คือ การปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก
ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

วิธีปลูก  การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน
1. การปลูกด้วยต้นตอตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง
     2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก
     2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต้นยาง ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย
การเตรียมหลุมปลูก
     หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม
ระยะปลูก
1. พื้นที่ราบ ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม
การปลูกซ่อม
     หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน
ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้
ฤดูการปลูกยางพารา
       ในพื้นที่ชุ่มชื้น เขตปลูกยางเดิม ช่วงฤดูแล้งเริ่มเข้าฤดูแล้ง เดือนมกราคม เตรียมพื้นที่เก็บไม้ออกจากพื้นทีให้หมด ไถพรวนและวางแนวขุดหลุมปลูก ถ้าผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม ควรให้เสร็จก่อนปลูกยางในฤดูฝน 1 เดือน ฝนเริ่มมาเดือน พฤษภาคม ถ้าพื้นที่มีความชื้นเพียงพอก็สามารถปลูกต้นยางชำถุงได้ การปลูกต้นตอควรมีความชื้นเต็มที่ขณะปลูกไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังปลูก 15 วัน ถึง 1 เดือนควรปลูกซ่อม ต้องปลูกซ่อมให้เสร็จก่อนหมดฝนอย่างน้อย 2 เดือน ในช่วงกลางฤดูฝนมักจะ มีฝนทิ้งช่วงให้ฝักของเมล็ดยางแห้งแตกร่วงหล่น การตกของเมล็ดยางช่วงนี้เรียกว่า เมล็ดยางในปี(เป็นเมล็ดที่สำคัญในการ ขยายพันธุ์ยาง) ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมล็ดยางเหล่านี้นำมาปลูกทำกล้ายางเพื่อติดตาในแปลง ปลูก หรือนำไปทำเป็นวัสดุปลูกขยายพันธุ์ต่อไป
       พื้นที่ปลูกยางใหม่เขตแห้งแล้ง(ฤดูฝนสั้นกว่าเขตปลูกยางเดิม) ควรปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ด้วยต้นยางชำถุง 2 ฉัตร ปลูกซ่อมด้วยวัสดุปลูกอย่างเดียวกันให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรกติเขตแห้งแล้ง ฝนเริ่มมาเดือนพฤษภาคม ฝนจะทิ้งช่วงให้เมล็ดยางในปีร่วงหล่น เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หมดฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเดือน พฤศจิกายน
     ข้อระวังในการปลูก
1. หลังจากปลูกยางแล้วถ้ามีฝนตกหนัก ให้ออกตรวจดูหลุมปลูกยาง ถ้าหลุมปลูกยางต้นใดที่ปลูกแล้วเหยียบดินไม่ แน่น จะทำให้ดินยุบเป็นแอ่ง ซึ่งจะขังน้ำ และอาจทำให้โคนต้นยางบริเวณคอดินไหม้ และต้นยางตายได้ ดังนั้นจึงต้องเกลี่ยดิน บริเวณปากหลุม ให้เรียบอยู่เสมอในช่วงที่มีฝนตกหนัก
2. ขณะโกยดินลงก้นหลุม อย่าให้ดินกระแทกต้นยางแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ต้นยางฉีกหรือหัก ซึ่งจะทำให้ต้นยางตาย ถ้าปลูกด้วยความระมัดระวังตามสมควร ก็จะทำให้อัตราการตายของต้นยางหลังปลูกต่ำมาก
3. ทิศทางการหันแผ่นตา การปลูกยางชำถุง หรือต้นตอตา ลงแปลงสวนยาง ควรหันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก เพื่อ ป้องกันอาการไหม้แสงแดดที่โคนต้นยาง หลังจากส่วนลำต้นของต้นตอเดิมหลุดออกไป ถ้ามีอาการไหม้แสงแดด ให้ใช้สีน้ำมัน ทาทับป้องกันเชื้อรามอดแมลงเข้าทำลาย ทำให้ต้นยางไม่แข็งแรงลมพัดหักได้ง่าย

การปลูกข้าว

               
 ข้าวเป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญของคนไทยเรา ฉะนั้น การปลุกจึงมีความสำคัญกับเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง ทำอย่างไรจึงจะได้ผลผลิตสูงที่สุด 
 
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ตรงตามพันธุ์ สะอาด และมีความงอกไม่น้อยกว่า  80  เปอร์เซ็นต์
 - ปลูกโดยวิธีปักดำ ใช้เมล็ดพันธุ์  5-7  กิโลกรัม ตกกล้าเพื่อปักดำในพื้นที่  1  ไร่
 - ปลูกวิธีหว่านน้ำตม ใช้เมล็ดพันธุ์  15-20  กิโลกรัม/ไร่
 
การเตรียมดิน
            การเตรียมดินจะขึ้นอยู่กับวิธีปลูกข้าว ซึ่งแตกต่างกันออกไป แต่ที่เหมือนกัน คือ ต้องเริ่มการไถดะทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วัน เพื่อตากดินและกำจัดวัชพืชก่อนปลูก
 
การปลูกโดยวิธีการปักดำ
การตกกล้าการเตรียมแปลงตกกล้า โดยไถดะทิ้งไว้ 7-10  วัน ไถแปรเอาน้ำเข้า แช่ขี้ไถ คราดปรับระดับผิวดินแล้วทำเทือก (มอบ) แบ่งแปลงย่อย กว้างประมาณ  1-2  เมตร ยาวตามความยาวของแปลง ทำร่องน้ำระหว่างแปลงกว้างประมาณ  30  ซ.ม.  แล้วระบายน้ำออกหว่านเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้บนแปลงให้สม่ำเสมอ ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์  50-70  กรัมต่อตารางเมตรอย่าให้น้ำท่วมแปลงกล้า แต่ให้มีความชื้นเพียงพอสำหรับการงอกเพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว  อย่าให้ท่วมต้นข้าวและไม่เกิน เซนติเมตร จากระดับหลังแปลง
                การปักดำ เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ ทิ้งไว้  7-10  วัน 
                   รักษาระดับน้ำในแปลงปักดำประมาณ  5  เซนติเมตรจากผิวดิน
                       ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ  25 วัน
                       ระยะปักดำ  20x20  เซนติเมตร จำนวน  3-5  ต้นต่อกอ
                       รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประมาณ  0-10  เซนติเมตร  
                       อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกถึงออกรวง
                       หลังข้าวกรองออกรวง  80  เปอร์เซ็นแล้วประมาณ  20  วัน ระบายน้ำออก
 
การปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
เตรียมแปลงโดยไถดะ ทิ้งไว้  7-10  วัน ไถแปรเอาน้ำเข้าแช่ขี้ไถให้พอเหมาะกับการคราด คราดปรับระดับผิวดิน แล้วทำเทือก
              แบ่งแปลง กว้าง  5-10  เมตร ยาวตามความยาวของแปลง ทำร่องน้ำระหว่างแปลงกว้าง  30  เซนติเมตร แล้วระบายน้ำออก
              หว่านเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้บนแปลงให้สม่ำเสมอ ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์  15-20  กิโลกรัม/ไร่
              หลังหว่านเมล็ด อย่าให้น้ำท่วมแปลง แต่ให้มีความชื้นสำหรับการงอก ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว  อย่าให้น้ำท่วมต้นข้าว และไม่ควรลึกเกิน  10  เซนติเมตร
               อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกหรือออกรวง หลังข้าวออกรวง  80  เปอร์เซ็นต์แล้วประมาณ  20  วัน ระบายน้ำออก
 
การให้ปุ๋ย
นาดำ
        *    ครั้งที่  1  ให้ปุ๋ยสูตร  19-20-0  หรือ  18-22-0  หรือ  20-20-0  อัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะปักดำหรือก่อนปักดำ วัน  (รองพื้น) แล้วคราดกลบหรือหรือให้หลังปักดำ  15-20  วัน  (หากเป็นดินเหนียวปนทรายควรใช้สูตร  16-16-8)
        *  ครั้งที่  2  ให้ปุ๋ยสูตร  46-0-0  อัตรา  10-15  กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร  21-0-0  อัตรา20-30  กิโลกรัมต่อไร่ที่ระยะกำเนิดช่อดอกหรือ  30  วัน   วันก่อนข้าวออกดอก
        *  ครั้งที่  3  ให้ปุ๋ยสูตรและอัตราเช่นเดียวกับครั้งที่  2  ที่ระยะ  10-15  วันหลังระยะกำเนิดช่อดอก
 
นาหว่านน้ำตม
        *  ครั้งที่  1  ให้ปุ๋ยสูตร  16-20-0  หรือ  18-22-0  หรือ  20-20-0  อัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่ ที่ระยะ  20-30  วัน หลังข้าวงอก  หากเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายควรใช้สูตร  16-16-8)
        *  ครั้งที่  2  และครั้งที่  3  เช่นเดียวกับนาดำ

การปลูกมันสัมปะหลัง

สภาพและปัจจัยที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง โดยมันสำปะหลังปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวและเก็บเกี่ยวง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีค่าเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูงได้แม้ pH ของดินจะต่ำจนถึง 4.5 ก็ไม่ทำให้ผลผลิตลด แต่ไม่ทนต่อสภาพพื้นที่เป็นด่าง โดยไม่สามารถขึ้นได้ถ้า pH สูงถึง 8 ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรี ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวนจะได้ดินก้อนใหญ่ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอก มันสำปะหลังเป็นพืชวันสั้น
 
การเตรียมดิน       มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือรากที่มีการสะสมอาหารจำพวกแป้งจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหัวอยู่ในดิน การเลือกพื้นที่ควรเลือกที่ดอน ดินเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง และต้องมีหน้าดินลึกพอสมควร ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลายวัชพืชต่างๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้ง จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังและกำไรสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดินระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก

วิธีการปลูก
        การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป
       การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
        ควรให้ระยะปลูกอยู่ที่ประมาณ 80 x 100 เซนติเมตร ปลูกได้ตั้งแต่ช่วงต้นฝนถึงปลายฝน หรือในขณะที่ดินมีความชื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ง่ายเพียงมีความชื้นเล็กน้อย
 
การใส่ปุ๋ย
        แบ่งการใส่ปุ๋ยเป็นสองรอบเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการสารอาหารของพืชซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละช่วงเวลา
             การใส่ปุ๋ยครั้งแรก ช่วงระยะเวลาเร่งต้นควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 , 15-7-18
            การใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง ช่วงระยะเวลาในการเร่งหัวมันสำปะหลัง ควรใช้สูตร 12-8-36
 
ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคาในขณะนั้น และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลังจากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันที หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลงสู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

การปลูกปาล์มน้ำมัน


ข้อมูลทั่วไป
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นปาล์มน้ำมันจึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคใต้ของประเทศ บริเวณพื้นที่ที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูลและตรัง ทั้งนี้เนื่องจากผลตอบแทนการปลูกปาล์มน้ำมันดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ยางพาราและการทำนาข้าว จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับมีโครงการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกปาล์มทั่วประเทศ คาดว่าปริมาณความต้องการ น้ำมันปาล์มภายในเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้เพราะราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น

ฤดูปลูก
การปลูกปาล์มน้ำมันควรกำหนดเวลาให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการอยู่รอด และเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมันคือ ความชื้นในดิน ฤดูฝนในภาคใต้ของประเทศไทยจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสม อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝนควรปลูกเมื่อตกแล้ว เพราะดินมีความชื้นการปลูกในช่วงนี้ทำให้ต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งตัวในแปลงได้ยาวนานก่อนถึงฤดูแล้ง

การปลูกปาล์ม




ก. อายุต้นกล้าที่ใช้ปลูก อายุที่เหมาะสมคือ 10 - 12 เดือน
ข. ระยะเวลาปลูกอยู่ช่วงฤดูฝนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ค. การเตรียมการในเรือนเพาะชำ ก่อนย้ายปลูกให้น้ำต้นกล้าปาล์มก่อนจะนำลงปลูก และพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง คัดต้นกล้าผิดปกติออก
ง. หลุมปลูก ขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 รูปทางเป็นรูปตัวยู วิธีการชุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมประมาณ 10 วัน
จ. การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้รถบรรทุก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และคำนึงถึงความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายด้วย
ฉ. การปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ควรใช้ร๊อกฟอสเฟตอัตรา 250 กรัมต่อหลุม
ก่อนนำต้นกล้าลงปลูก ควรคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง
ใส่ดินลงไปในหลุมโดยใช้ดินชั้นบนลงไปก่อน และอัดให้แน่นเพื่อป้องกันลมพัดแรง
ช. การตรวจแปลงหลังจากปลูก ต้นกล้าจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที
ซ. การปลูกซ่อม ควรทำภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก



การดูแล - บำรุงรักษา
1. การป้องกันและการกำจัดวัชพืช
วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงฤดูแล้ง ไม่ควรกำจัดวัชพืชเพราะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่น
2. การใส่ปุ๋ย
ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยอัตราการใช้
3. การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เมื่อพบศัตรูพืชเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
4. การตัดช่อดอก
ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้
การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน1. ระยะเวลา และการแบ่งใส่
ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมบ่งใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ช่วงหลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
2. วิธีการใส่ปุ๋ย
1) ให้ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 กรัม/ต้น รองก้นหลุมตอนปลูก โดยใช้ดินชั้นบน ผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหินฟอสเฟต ใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินชั้นล่าง
2) อายุระหว่าง 1-4 ปี ใส่ปุ๋ยภายในวงกลม (รัศมี 1.5-2 เมตร) บริเวณที่กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น
3) อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้น 50 ซม. จนถึงบริเวณปลายทางใบ
4) การใส่ปุ๋ยควรหว่านให้ทั่วและสม่ำเสมอ บริเวณทรงพุ่มใบรอบโคนต้น, ยกเว้นปุ๋ยหินฟอสเฟต แนะนำให้ใส่เป็นแนวรอบทรงพุ่ม ภายในรัศมีวงกลมรอบโคนต้น และควรใส่ปุ๋ยหลังจากกำจัดวัชพืชแล้ว
3.อัตราปุ๋ยที่ใช้
อัตราปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยทั่ว ๆ ไป ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเก็บตัวอย่างใบส่งไปวิเคราะห์ได้ แสดงดังตารางต่อไปนี้
ี้

แสดงตารางการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน อายุ 1-4 ปี
ปีที่อัตราส่วนปุ๋ยสูตร
(หรือสูตรใกล้เคียง)
อัตรา
(กก./ต้น/ปี)
กีเซอร์ไรท์
อัตรา(กก./ต้น/ปี)
โบแรกซ์อัตรา
(กก./ต้น/ปี)
14:3:220-15-101.5-2--
23:3:415-15-202.5-30.350
32:2:512-10-253.5-40.580
41:1:310-8-304.5-50.880



การเก็บเกี่ยวผลผลิต
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อย สะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน
*ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
- รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกอง ในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
- รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์ม อีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3. ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4. ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5. ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6. ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7. ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า
ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน
1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอย ู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไป จะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุก ควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มชอช้ำ้ำน้อยที่สุด
คุณภาพปาล์มทั้งทะลายที่ดี
1.ความสด เป็นผลปาล์มที่ตัดแล้วส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2.ความสุก ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐาน คือ ลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
3.ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
4.ความชอกช้ำ ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
5.โรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
6.ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
7.ความสกปรกไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
8.ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเจือปน
9.ก้านทะลาย ความยาวไว้เก็บ 2 นิ้ว

ศัตรูปาล์มน้ำมัน
ศัตรูปาล์มน้ำมัน หมายถึง สิ่งที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน
ชนิดของศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
2. แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
3. โรค

» สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มฟันแทะ : หากินบนพื้นดินหรือบนต้นไม้
1) หนูพุกใหญ่ = สีขนด้านท้อง และหลังสีเทาเข้ม
2) หนูท้องขาว = พบมากในสวนปาล์มอายุ 6 ปีขึ้นไป จัดเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด มีลักษณะหน้าแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ตัวยาวเรียว ขนเรียบ ขนท้องสีเทา, น้ำตาลปนเทา
3) เม่น มี 2 ชนิด คือ
- เม่นใหญ่แผงคอยาว เป็นเม่นขนาดใหญ่ หางสั้ัน ขนปกคลุมตัวด้านหน้า สีน้ำตาลดำ ขนด้านหลังเป็นหนามแหลม ขนสีขาวแกมดำ
- เม่นหางพวง หางพวงมีเกล็ดและที่ปลายหางมีขนเป็นพวง

2.กลุ่มสัตว์กินแมลง
1 กระแตธรรมดา เป็นกระแตขนาดใหญ่ มีหางเป็นพวง สีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิ และความชื้นสูง สีขนจะเป็นสีแดง สดใส ถ้าอุณหภูมิและความชื้นต่ำ สีขนจะเป็นสีเทา หรือเทาน้ำตาล ใบหูเล็กหนาคล้ายหูคน

3.กลุ่มสัตว์จำพวกนก
นกสร้างความเสียหายโดยกินลูกปาล์ม ความเสียหายเกิดเฉพาะที่และจะเกิดซ้ำที่ เป็นนกตระกูลนกเอี้ยง และนกขุนทอง

4.กลุ่มสัตว์ป่าอื่น ๆ
หมูป่า

การนำน้ำมันปาล์มไปใช้งาน
1. น้ำมันปรุงอาหาร
2. มาการีนหรือเนยเทียม
3. น้ำมันสำหรับทอด (Frying Fat)
4. เนยขาว
5. น้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Palm Oil)
6. นมข้นหวาน
7. ไอศกรีม
8. ครีมเทียมและนมเทียม
9. กรดไขมันอิสระ (Palm Fatty Acid Distilled PEAD)
10. สบู่ น้ำมันปาล์มสามารถนำมาใช้ผลิตสบู่ได้ ทั้งสบู่ฟอกร่างกายและสบู่ซักล้าง การทำสบู่มีหลายสูตร ยกตัวอย่างสูตรทำสบู่ฟอกร่างกายสูตรหนึ่งใช้ปาล์มสเตียรีนร้อยละ 40 น้ำมันปาล์มร้อยละ 40 และใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวร้อยละ 10



ข้อมูล : www.trang.ru.ac.th